น้ำใจ......สู้ภัยสึนามิ

Sunday, May 07, 2006

รายชื่อน้องๆที่กำพร้าคุณพ่อคุณแม่จากเหตุการณ์สึนามิ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาดููรายชื่อน้องๆ นะคะ
~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*

โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม
ที่อยู่: หมู่ที่ 2 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190

1.ด.ช. เมษา เสนาสะนะ
2.ด.ญ.น้ำทิพย์ จันทร์เมือง
3.ด.ญ.สุวรรณี มลิวรรณ์
4.ด.ช.วิสุทธิ์ โสมาบุตร
5.ด.ช.ยุทธนา ชูชื่น
6.นายสรศักดิ์ ยังมีมาด
7.ด.ช.อานนท์ ทองศรีแก้ว
8.ด.ญ.สุวรรณี กล้าทะเล
----------------------------------------------------------------
โรงเรียน บ้านหินลาด
ที่อยู่: หมู่ที่ 3 ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา 82150

1.ด.ช.มนตรี โต๊ะหลี
2.ด.ญ.นิตยา โต๊ะหลี
3.ด.ญ.ยุภาวดี โต๊ะหลี
4.ด.ช.เฉลิมเกียรติ โต๊ะหลี
----------------------------------------------------------------
โรงเรียนบ้านลำแก่น
ที่อยู่: ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา 82210

1.ด.ญ.ปนัชดา ทองสุข
2.ด.ญ.จังคนิภา ทองสุข
3.ด.ญ.สโรชา ทนทาน
4.ด.ช.โอภาส ยงประเดิม
5.ด.ช.ชูเกียรติ ทองจันทร์
6.ด.ช.สมบูรณ์ ยงประเดิม
----------------------------------------------------------------
โรงเรียนบ้านบางม่วง
ที่อยู่: ถ.เพชรเกษม หมู่ที่3 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190

1.ด.ช.พิทักษ์ ชาวแพรกน้อย
2.ด.ช.ธำรงศักดิ์ ดอกจันทร์
3.ด.ญ.จันทร์จิรา เปรียบปาน
4.ด.ญ.จีรวรรณ เจษฎารมย์
5.ด.ญ.ปิยมาศ แช่มใย
6.ด.ญ.ชลธิชา คล้ายเขียว
----------------------------------------------------------------
โรงเรียน ตะกั่วป่าเสนานุกูล
ที่อยู่: หมู่ 7 ถ.เพชรเกษม ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110

1.ด.ญ.ปิยะนุช อุตตะมัง
2.ด.ช.รุ่งเรือง ตรีปัญญา
3.ด.ช.ธวัชชัย ชัยมุกข์
---------------------------------------------------------------
โรงเรียนบ้านบางเนียง

ที่อยู่: หมู่ที่ 6 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190

1.ด.ญ.วรลักษณ์ จุลเทพ
2.ด.ช.ชวาล สมุทรวารี
----------------------------------------------------------------
โรงเรียนสุทธินอนุสรณ์
ที่อยู่: 73 ถ.ศรีตะกั่ว อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

1.ด.ญณัฎฐณิชา อมาตยกุล
2.ด.ญ.ภัทราวรรณ นรสิงห์
----------------------------------------------------------------
โรงเรียนคุระบุรีพิทยา
ที่อยู่: ถ.เพชรเกษม ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา 82150

1.นายวีระพงษ์ รามสุวรรณ
2.ด.ช.ธีระพล รามสุวรรณ
----------------------------------------------------------------

บันทึกน้ำใจหยดแรก...โรงเรียนมิลล์เวอร์ตัน ประเทศอังกฤษ

เวลาล่วงไปกับเจ้าภัยตัวร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนมากมาย รอยน้ำตา และความเจ็บปวดร้าวราน ของผู้ประสบภัยยังซ่อนตัวอยู่ทุกหลืบอณูของแผ่นดินที่โดนซัดกระแทกจาก คลื่นยักษ์สึนามิ

หากแต่น้ำใจของมนุษย์ที่มีหัวใจดีๆ
ก็ยังไหลหลั่งมาชะโลมใจเพื่อนผู้ประสบทุกข์ภัย
แม้จะไม่ถาโถมมาดั่งแม่น้ำสายใหญ่
เหมือนในช่วงเวลาเมื่อเกิดเหตุใหม่ๆ
แม้เป็นเพียงหยดน้ำใจเล็กๆ ดังเช่น สายฝนปรอยๆ
หรือ อาจเป็นได้เพียงแค่......น้ำค้าง
แต่.....อย่าลืมว่าแม่น้ำสายใหญ่ก็มีวันเหือดแห้งหายไป
หากไม่มีน้ำฝน น้ำค้าง หยดเล็กหยดน้อย ร่วงหล่นมารวมกัน
เพื่อคงไว้ซึ่งแม่น้ำสายใหญ่ให้ยังอยู่........ตลอดไป
************************************
เรื่องราว... น้ำใจของผู้คนมากมายทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่ดิฉันประสบพบมาด้วยตนเองในระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ จนถึงวันที่ได้ไปบ้านน้ำเค็มเมื่อ วันศุกร์ที่14 ตุลาคม 2548 และหวังว่าจะยังมีเรื่องราวดีๆ เช่นนี้เกิดขึ้นอยู่ให้พวกเราได้บันทึกเก็บกันไว้ในหัวใจทุกดวงตลอดไปไม่มีวันหมดสิ้น
*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~

น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ.....Milverton ตอนที่1

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ มิสซิสเลทแธม คุณครูใหญ่ผู้สวยสง่าแห่ง Milveton ก็มีจดหมายฝากผ่านกับลิซซี่มาให้ดิฉันไปพบ ในทีแรกก็ตกใจ นึกว่าเจ้าลิซซี่ไปตีกับใคร เพราะเห็นบ่นๆ อยู่ว่ามีเพื่อนเกเรในห้องชอบมาแกล้ง ถึงขนาดไปขอร้องพี่แม่ครัวร้านไทยของน้าให้เอาตะหลิวไปตีหัวแก้แค้นซะอย่างงั้นล่ะ เมื่อถึงวันนัดพบ ดิฉันไปก่อนเวลาเล็กน้อย เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า คนไทยก็ตรงเวลากับเขาเป็นเหมือนกัน และที่สำคัญหากไปสายแล้วจะเอาเรื่องรถติดมาอ้างแบบตอนอยู่ในกรุงเทพฯก็คงดูกระไรอยู่ เพราะถนนบ้านเขาออกจะโล่งซะขนาดนั้น

มิสซิส เลทแธมแจ้งธุระของการพบกันในวันนี้ว่า อยากคุยเรื่องสึนามิ ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานหลายเดือนแล้ว แต่ทุกคนที่โรงเรียนก็ยังไม่ลืมเหตุการณ์นี้ และยังเชื่อว่าผู้ประสบภัยหลายๆ คนยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ หลายๆคนอาจจะค่อยๆลืมเลือนเหตุการณ์ไปทีละนิดทีละนิด ตามระยะเวลาที่ผ่านล่วง แต่ทางโรงเรียนกลับคิดว่า เหตุการณ์ร้ายแรงแบบนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องคอยเข้าไปช่วยเหลือเมื่อตอนเกิดเหตุใหม่ๆ เท่านั้น(ซึ่งจริงๆ ทางโรงเรียนก็ได้จัดเดินการกุศลครั้งใหญ่ช่วยเหลือไปแล้วในปลายเดือนมกราคมหลังเกิดสึนามิใหม่ๆ)

ทางโรงเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนเห็นด้วยว่าในบางจังหวะที่เรื่องราวจางหายลงไปจากความสนใจของผู้คน ก็อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะกับเด็กกำพร้า ซึ่งทุกคนเห็นว่าเป็นปัญหาระยะยาวทั้งทางด้านจิตใจและสภาพความเป็นอยู่ (ทุกครั้งที่นึกภาพลูกสาวตัวเองต้องอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่มีพ่อแม่คอยปกป้อง มักจะทำให้ดิฉันปวดร้าวเข้าไปในหัวใจและเข้าใจความรู้สึกเด็กๆ เหล่านั้นได้อย่างไม่ยากนัก)

สมาคมผู้ปกครองและครูลงความเห็นกันว่าทางโรงเรียนมีเด็กไทยบ้องแบ๊วอยู่หนึ่งคน นั่นคือลิซซี่ จึงตัดสินใจว่าอยากเข้ามาช่วยเหลือเด็กกำพร้าในประเทศไทยก่อน(ถือเป็นการให้เกียรติเราสองคนแม่ลูกเป็นอย่างมาก) เพราะด้วยแรงกำลังของคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งคงทำอะไรให้ผู้ประสบภัยไม่ได้ครบทุกคน ซึ่งดิฉันก็ได้บอกมิสซิสเลทแธมไปว่า แค่พวกเขาคิดที่จะช่วยเหลือ แม้จะเป็นแค่บางส่วน มันก็ทำให้ชีวิตหลายๆคน ย่อมถูกเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งก็ดีกว่าที่เราจะไม่ทำอะไรกันเลยในวันที่เราพอมีกำลังหรือพอแบ่งปันกันได้

ขออนุญาตเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษนิดหน่อยในสิ่งที่ดิฉันได้บอกทางโรงเรียนไปเนื่องจากบางทีภาษาอังกฤษบางคำก็บ่งบอกอะไรได้มากมายกว่าที่จะบรรยายได้ในภาษาไทย "we appreciate very much for your nice thought.It doesn't matter how much you will give.At least, it will make different for somebody's life."แค่ในตัวอักษรเข้มนี่หล่ะค่ะที่อยากสื่อออกมา คงไม่ว่ากันนะคะ

น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ.......Milverton ตอนที่ 2

หลังจากทราบจุดประสงค์ของมิสซิสเลทแธม คุณครูใหญ่ที่โรงเรียนลิซซี่แล้ว ดิฉันก็ได้รับมอบหมายให้ไปติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กกำพร้าที่สูญเสียทั้งพ่อและแม่ไปในเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่ง่ายอย่างที่คิด เริ่มต้นด้วยการโทรหาเพื่อนทุกคนเท่าที่จะติดต่อได้ ทุกคนก็แนะนำให้บริจาคผ่านสภากาชาด แต่ทางโรงเรียนบอกว่า เคยบริจาคผ่านสภากาชาดไปแล้ว ตอนจัดงานเดินการกุศล ครั้งนี้พวกเขาอยากจะบริจาคโดยตรงให้กับเด็กกำพร้า

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ พวกเขาต้องการให้เด็กๆ นักเรียนที่โรงเรียนเขียนจดหมายไปให้เด็กกำพร้าที่เขาหลัก ด้วยหวังให้พวกเขาได้รับรู้ว่า พวกเขาไม่ได้อยู่อย่างโดดเี่ดี่ยวลำพัง หากแต่ยังมีสายใยสัมพันธ์ของเพื่อนจากแดนไกลคอยส่งกำลังใจและฝากความรู้สึกห่วงใยมาให้อยู่เสมอ นอกจากนี้คุณครูใหญ่ยังขอให้ดิฉันกับลิซซี่ช่วยเดินทางไปที่เขาหลักเพื่อเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการมอบเงินช่วยเหลือ จดหมาย และสิ่งของที่จะบริจาคทั้งหมดด้วย

ณ เวลานั้น หัวใจของดิฉันรู้สึกอิ่มเอิบไปด้วยความยินดีและซาบซึ้งในความปรารถนาดีของเพื่อนมนุษย์ต่างเผ่าพันธ์เป็นยิ่งนัก "การให้" ของพวกเขามิใช่เป็นเพียง แค่ความช่วยเหลือในด้านวัตถุเท่านั้น แต่พวกเขายังตระหนักและห่วงใยในเรื่องของจิตใจเด็กน้อยเหล่านั้นด้วย ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ประมาณค่าไม่ได้เลยและเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก

_________________________
เด็กน้อยผมทอง
บรรจงจรดปากกา..
ลงบนกระดาษสีขาวบริสุทธิ์
เพื่อส่งใจให้เพื่อนตัวน้อย
ที่อยู่ในแดนไกลและหัวใจยังร้าว
สองดวงใจแม้อยู่ไกลกัน
แต่กระดาษแผ่นนั้น
จะแปรผันความไกล
ให้กลายเป็นใกล้
ฝากใจไปรักษา
ด้วยหวังว่า..........
อีกดวงใจจะคลายเจ็บ
___________________________

และเมื่อคุณครูใหญ่ถามดิฉันว่า จะเป็นการสร้างความลำบากให้ดิฉันหรือเปล่า ในการที่จะต้องไปหาข้อมูลทั้งหลาย รวมถึงการเดินทางไปเขาหลักแทนพวกเขา ดิฉันรีบตอบออกไปโดยไม่ต้องคิดให้เสียเวลาแม้แต่วินาทีเดียว ว่า..........."No problem at all,It is a big honour for me and I am more than happy to do that for you all"


น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ.....Milverton ตอนที่ 3

Milverton House Preparatory School คือชื่อเต็มของโรงเรียนเอกชนแห่งนี้ที่เข้มงวดทางด้านการเรียนการสอน รวมถึงระเบียบวินัยของนักเรียนเป็นที่สุด แค่การจดจำเรื่องเครื่องแบบนักเรียนของลิซซี่ ดิฉันก็พาลจะลมจับแล้วค่ะ

จำได้ว่า ในหนึ่งปีมีสามยูนิฟอร์ม ได้แก่ วินเทอร์ ออทั่ม และซัมเมอร์ ในหนึ่งยูนิฟอร์มยังแบ่งย่อยไปตามวันที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนเช่น วันประชุมต้องใส่สูทรของแต่ละฤดูกาล วันที่มีคลับหลังเลิกเรียน ต้องใส่ชุดให้เข้ากับคลับที่จัดไว้ึ ชุดพีอี(พลศึกษา) ก็แตกต่างกันในแต่ละฤดู รองเท้ามีสี่แบบ ต้องจำให้ได้ว่าอันไหนใส่กับยูนิฟอร์มไหน โอเวอร์โค้ท มีสองแบบ แถมยูนิฟอร์มกันฝน และหมวกต่างๆ ตามฤดูกาล

นอกจากนี้นักเรียนหญิงยังต้องติดกิ๊บกับโบว์เฉพาะที่เป็นสีขาวกับสีน้ำเงินหรือฟ้าเท่านั้น เพื่อให้เข้ากับเครื่องแบบทุกฤดู แรกๆ ดิฉันก็นึกว่าหมูในอวยค่ะ ใช้จำเอาตอนคุณครูผู้ปกครองเรียกไปประชุม ปรากฎว่า อาทิตย์แรกที่ลิซซี่ไปโรงเรียน อย่างน้อยต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งผิดกลับมา จนคุณครูฝ่ายปกครอง(ซึ่งเหมือนนายทหารหญิงคุมกองทัพยังไงบอกไม่ถูก)เรียกกระเหรี่ยงอย่างดิฉันไปตักเตือนก่อนที่จะลงโทษเด็ก คราวนี้อิฉันจำต้องพกกระดาษและปากกาไปจดยิกๆ เลยค่ะ และทุกๆเช้าหลังจากวันนั้น เราสองคนแม่ลูกก็หยิบโพยขึ้นมาประกอบในการแต่งตัวกัน จนในที่สุดเราทั้งสองก็เป็นมือโปรและไม่ต้องอาศัยโพยนั้นอีกต่อไป

การที่โรงเรียนมีนโยบายเข้มงวดเรื่องการแต่งกายนั้น ก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อฝึกนักเรียนให้เคารพในกฏระเบียบและ เป็นการฝึกวินัยขั้นพื้่นฐานให้เด็กๆ ดูแลรับผิดชอบตัวเองด้วย และนอกจากนี้ยังเข้มงวดเรื่องมารยาททางสังคม และความตั้งใจเรียนของเด็กๆ ด้วย ไม่ได้เน้นว่าต้องเก่งหรือฉลาด แต่จะปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบและเช็คความเอาใจใส่ในการเรียนมากๆ

คุ้นคุ้นไหมค่ะว่าเหมือนระบบที่ไหนเอ่ย.......ก็โรงเรียนบ้านเราสมัยตอนดิฉันละอ่่อนอยู่นะสิคะ(ตอนนี้ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรกันแล้ว) หลายๆ โรงเรียนที่บ้านเราจะมีคุณครูฝ่ายปกครองคอยดูแล ตรวจตรา การแต่งกาย ผมเผ้า ให้อยู่ในกฎระเบียบของโรงเรียนเป็นที่สุด ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกว่าบางทีเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเลียนแบบวัฒนธรรมหรืออะไรต่อมิอะไรของฝรั่งเค้ามากนัก หลายๆ อย่างที่เราทำ ที่เรามี อาจดีอยู่แล้ว

เกริ่นมาซะยาว ก็แค่จะเข้าเรื่องว่า วันที่น่าตื่นเต้นของเด็กๆโรงเรียนนี้ ก็คือวันที่เรียกกันว่า non-uniform day ซึ่งดิฉันแปลเอาไว้ในพจนานุกรมส่วนตัว ว่าวันปล่อยผี(เด็กน่ารัก) เพราะทุกคนได้อิสระเต็มที่ในการแต่งกาย ไม่ต้องกังวลเรื่องระเบียบวินัยใดๆ ทั้งสิ้น ได้ถือกระเป๋าไปโรงเรียน กับชุดเท่ห์ๆ ของใครของมัน บางวาระของ non-uniform day ก็อาจต้องเรียนหนังสือ บางวาระก็ไม่ต้องเรียน เพราะโรงเรียนจัดงานรื่นเริงให้

ซึ่งวันพิเศษนี้ หนึ่งปีจะมีซักประมาณสองถึงสามครั้ง และในจำนวนหนึ่งครั้งของปีนี้นั้น ก็ช่างเป็นวันพิเศษสำหรับเราสองคนแม่ลูกนัก เพราะทางโรงเรียนประกาศให้มี non-uniform day เพื่อเด็กกำพร้าสึนามิในประเทศไทย และร่วมระลึกถึงเหยื่อผู้ประสบภัยในทุกประเทศด้วย

รายละเอียดของงานจะมาบันทึกในคราวหน้า วันนี้ขอตัวไปแพ็คกระเป๋าเตรียมกลับบ้านเราแสนสุขใจก่อนนะคะ (อีกสามวันจะได้ทานส้มตำกับเพื่อน และน้ำพริกปลาทููฝีมือแม่ซะที....wont be long!)

น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ.....Milverton ตอน4

ก่อนวันงาน non-uniform เพื่อเด็กกำพร้าสึนามิในประเทศไทยนั้น คุณครูใหญ่ขอพบดิฉันอีกครั้งหนึ่ง เธอถามดิฉันว่าอยากได้อะไรเพิ่มเติมให้เด็กๆที่เขาหลักบ้าง เพราะเธอไม่แน่ใจว่าสิ่งใดจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กๆ บ้าง ดิฉันคิดเรื่องนี้อยู่ในใจแล้ว จึงรีบตอบทันทีว่า น่าจะเป็นหนังสือ แต่ขอเน้นให้เป็นหนังสือเด็กเล็กมากหน่อย เนื่องจากเด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษช้ากว่าเด็กที่นี่เยอะมาก ยิ่งโดยเฉพาะแต่ละโรงเรียนที่เขาหลักซึ่งเป็นโรงเรียนต่างจังหวัด เข้าใจว่าอาจต้องการหนังสือที่เข้าข่ายสีสันสวย รูปภาพสะดุดตา น่าสนใจ และเป็นอะไรที่อ่านง่าย นั่นจะทำให้เด็กสนใจอยากอ่าน และเรียนรู้ภาษาอัีงกฤษมากขึ้น

และหากผู้ปกครองคนใดอยากเพิ่มเติมสิ่งของอย่างอื่น ก็น่าจะเป็นของเล่นประเทืองปัญญาทั้งหลายที่พวกเขาคิดว่าไม่ใช้แล้ว ส่วนเรื่องเสื้อผ้านั้นขอให้งดไป(เพื่อการประหยัดน้ำหนักในการขนส่ง) เนื่องจากมั่นใจว่าชาวไทยได้ช่วยเหลือเรื่องนี้กันอย่างเต็มที่แล้ว

หลังจากนั้นตอนเย็นพอลิซซี่กลับจากโรงเรียนดิฉันก็ได้รับจดหมายจากโรงเรียนถึงผู้ปกครองทุกคนว่า ขอให้ผู้ปกครองทุกคนให้เงินเด็กๆ มาโรงเรียน ไม่จำเป็นต้องมากแต่ขอให้นำมาอย่างน้อยคนละ หนึ่งปอนด์ เพื่อทำกิจกรรมในการบริจาคให้เด็กกำพร้า และทางสมาคมผู้ปกครองจะจัดคอนเสิร์ตสมทบทุนสนับสนุนอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ในเนื้อความของจดหมาย ยังระบุเรื่องการขอบริจาคหนังสือตามสเปคที่ดิฉันขอไปด้วยอีกต่างหาก

ขออนุญาตบอกกล่าวเพิ่มเติมตรงนี้ว่าหนังสือที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดนั้นเป็นหนังสือที่ดี มีคุณภาพ ผู้ปกครองบางท่านถึงกับลงทุนไปซื้อหนังสือใหม่มาให้ก็มี และเมื่อดิฉันนำไปให้ทางโรงเรียนที่เขาหลัก คุณครููได้บอกดิฉันว่า หนังสือเหล่านี้จะทำประโยชน์ให้กับโรงเรียนและเด็กๆ อย่างมากทีเดียว และต่อให้ไม่เกิดสึนามิ พวกเขาก็คงไม่มีโอกาสได้สัมผัสหนังสือดีๆ เหล่านี้ เพราะอย่างที่เราก็ทราบๆ กันดีอยู่แล้วว่า บ้านเราขาดความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาขนาดไหน โรงเรียนเองก็คงไม่มีงบประมาณจะจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้เด็กๆ ได้เท่าที่ควร

และที่ดิฉันปลาบปลื้มมากที่สุดคือ เมื่อวันที่ดิฉันได้นำเงิน สิ่งของและหนังสือไปบริจาคที่โรงเรียนบ้านน้ำเค็มนั้น เป็นวันที่ห้องสมุดซึ่งสมเด็จพระเทพฯประทานสร้างให้โรงเรียนเสร็จพอดี คุณครูใหญ่และนักเรียนดีใจมากและช่วยกันเก็บเข้าห้องสมุด ให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสอ่านโดยทั่วถึง และหลายๆ เล่มก็จะนำไปใช้ในการสอนด้วยเช่นกัน

งานนี้ลิซซี่ดีใจเพราะมีชื่อตัวเองอยู่ในจดหมายด้วย ระบุว่าลิซซี่จะเป็นตัวแทนพวกเขาไปพบเด็กนักเรียนที่เขาหลัก

บรรยากาศวันงานจะเป็นอย่างไร ติดตามในบันทึกหน้าค่ะ

น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ......Milverton ตอนจบ

non-uniform day"เพื่อเด็กกำพร้าไทยในเหตุการณ์สึนามิ"

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ณ โรงเรียนMilverton ประเทศอังกฤษ

เด็กๆ แต่งตัวกันมาน่ารักไปหมด หวาน เปรี้ยว เฮี้ยว ซ่าส์ ว่ากันไปชุดใครชุดมันตอนเช้ามีเรียนครึ่งวัน งานเริ่มตอนพักเที่ยงมีการจัดนิทรรศการรำลึกถึงผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิเห็นเด็กหลายๆ คนแสดงความสงสาร เมื่อยืนดููรููปที่บอร์ดได้ยินเสียงน้อยๆ พูดแผ่วๆ เต็มไปหมดหน้าลานนิทรรศการ

......"oh dear" "oh dear" "oh dear"
............."poor him" "poor her" "poor them"
.............."so sad" "so sad" "so sad"........

คุณครูจัดดิสโก้เธคให้ที่โรงเรียนดิฉันและพ่อแม่ผู้ปกครองคนอื่นๆ ไปถึงตอนบ่ายแก่ๆ ประมาณว่าเด็กๆ สนุกสนานกันมาครึ่งทางแล้ว

คุณครููใหญ่ขึ้นมาประกาศว่า มีรายการพิเศษคือ ในวันนี้ใครอยากให้คุณครููฝ่ายปกครองขึ้นมาิแดนซ์กระจายบนเวทีบ้าง เด็กๆ ยกมือกันใหญ่ คุณครููใหญู่บอกเงื่อนไขว่า เด็กๆ ต้องทำการหย่อนสตางค์ใส่กระป๋องให้ได้ตามค่าตัวที่คุณครูููฝ่ายปกครองเรียกมาและคุณครููจะนำไปบริจาคเพื่อเด็กกำพร้านักเรียนวิ่งแจ้นไปหย่อนสตางค์กันใหญ่คงรอคอยวันที่คุณครูู(ที่ดุ และห้าว ยังกับทหารหญิง)ต้องแปลงกายมาเป็นแดนเซอร์สาวเมื่อคุณครููขึ้นไปวาดลวดลายสุดสวิงบนเวที เด็กๆ ก็ได้เฮสมใจ

ครานี้ก็เป็นคราวของครููใหญ่ที่ต้องโชว์บ้าง เด็กๆ ได้เฮอีกครั้งเมื่อคุณครููแปลงกายเป็นนักร้องสาวแห่งวง
แบลคอายส์พีส์ และมีคอรัสเป็นครููหนุ่มสามคน

เจ้าของโรงเรียนมิสเตอร์ คริส เบดแฮมมาปรากฎตัวตอนท้ายขึ้นร้องเพลง เล่นกีตาร์ เพื่อขอเงินบริจาคอีก เด็กๆ หัวเราะชอบใจกันตลอดที่มีคุณครูขึ้นไปโชว์การแสดงต่างๆ ให้ดู และสนุกสนานกันไปตามประสาวันปล่อยผี(เด็กน่ารัก)สงสารก็แต่คุณครููทุกคนที่ยอมเปลืองตัว ลงทุนกันน่าดูู เพื่อให้ได้เงินบริจาคมากที่สุด

หลังจากนั้น คุณครูใหญ่ขอเบรคความสนุกและขึ้นไปบนเวทีพร้อมประกาศให้นักเรียนทุกคนระลึกถึงผู้ประสบภัย

ครูใหญ่บอกว่า พวกเธอนั้นแสนโชคดีที่มีคุณพ่อคุณแม่คอยให้ความอบอุ่น ปกป้องดูแลพวกเธอมีความสนุกสนาน สะดวกสบายในวันนี้ได้เพราะมีพ่อแม่คอยจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้ในขณะที่มีเด็กอีกมากมายในโลกนี้ที่ต้องอยู่ อย่างโดดเดี่ยวลำพังแค่ความสุขใจสักเล็กน้อยสำหรับพวกเขา ก็คงหามาได้ยากนักพวกเขาคงไม่หวังอะไรมากไปกว่าการได้อ้อมกอดอันอบอุ่นของพ่อแม่กลับคืนมาแต่......มันจะเป็นไปได้อย่างไร พวกเขาก็คงต้องอยู่กันต่อไป ขอให้พวกเรานึกภาพ การอยู่ต่อไปของพวกเขาว่าจะยากแค้นทั้งกายใจอย่างไร

เมื่อพวกเราจินตนาการ ถึงความเจ็บปวดและความลำบากของพวกเขาได้แล้วพวกเราก็คงพร้อมที่จะให้เท่าีที่จะให้ได้ ใช่หรือไม่ถึงตอนนี้ดิฉันได้ยิน ทั้งผู้ปกครองและนักเรียนประสานเสียงออกมาพร้อมกันอย่างนุ่มนวลแต่มีพลัง ว่า "ใช่"

เมื่องานเลิกทุกคนหอบหนังสือสวยๆ ดีๆ มาให้ดิฉันเพื่อนำไปให้หลายๆโรงเรียนที่มีนักเรียนกำพร้าอยู่ พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนเข้ามาคุยด้วยน้ำใจไมตรีส่วนใหญ่จะเข้ามาแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเด็กๆ เข้ามารุมล้อมถามไถ่ ว่าคนไทยเป็นอย่างไรบ้าง หลังเวลาอันเลวร้าย(อืม รู้สึกเหมือนเป็นนางสาวไทยยังไงบอกไม่ถููก ทั้งที่หน้าไม่ให้ แต่บรรยากาศพาไปซะได้)

จำได้ว่าทุกคนเข้ามาร่ำลาดิฉัน บ้างก็หอมซ้ายหอมขวา บ้างก็แตะไหล่ บ้างก็สัมผัสมือ ในขณะที่กล่าวถ้อยคำคล้ายๆ กันว่า "ฝากความรัก ความเห็นใจและพลังใจไปให้เด็กกำพร้าและผู้สูุญเสียชาวไทยทุกคนด้วย พวกเรารู้ดีว่าทุกคนเจ็บปวด"

อบอุ่นและซาบซึ้งใจแทนคนไทยมากๆ ไม่รู้ว่า จะส่งผ่านความรู้สึกนี้ถึงคนไทยคนอื่นๆ ได้อย่างไรในขณะนั้น แต่อย่างน้อย ณ เวลานี้ก็คงจะมีเพื่อนบ้านใน mblog บางส่วนได้เข้ามารับรู้อยู่บ้าง


ขอบคุณที่สละเวลากวาดสายตามารับความอบอุ่นและน้ำใจหยดเล็กๆ แต่เชื่อว่ายิ่งใหญ่ในหัวใจพวกเรา เป็นความอบอุ่นและน้ำใจไมตรีที่เพื่อนร่วมโลกในอีกมุมหนึ่งที่ห่างไกลฝากมาให้คนไทยค่ะ

บันทึก"การไปเยือน เพื่อนๆ ตัวน้อย"



น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ...ผจญภัยไปบ้านน้ำเค็ม ภาค1

เมื่อตุลาที่ผ่านมา เป็นวันหยุดครึ่งเทอมของลิซซี่น้อย ครั้งนี้เราสองคนแม่ลูกมีภาระกิจที่สำคัญซึ่งได้การรับมอบหมายมาจาก โรงเรียนMilverton ให้นำเงินและสิ่งของไปให้เด็กกำพร้าที่เขาหลัก จุดหมายปลายทางที่ต้องไปคือบ้านน้ำเค็ม เนื่องจากเราจะทำการช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่โรงเรียนบ้านน้ำเค็มก่อน ส่วนของและหนังสือเราจะบริจาคให้ทุกโรงเรียนที่ได้ผลกระทบจากภัยสึนามิ โดยทางโรงเรียนบ้านน้ำเค็มจะเป็นผู้ประสานจัดสรร และส่งต่อหนังสือกับข้าวของต่างๆ ให้โรงเรียนอื่นต่อไป

ดังนั้นเราสองคนแม่ลูกจึงอยู่กรุงเทพได้ไม่กี่วัน ก็มีอันต้องจรลีซะแล้ว นั่งจัดกระเป๋าไปก็บ่นไป ว่าทำไมของตูมันเยอะขนาดนี้เนี่ย คุณยายลิซซี่บอกว่า ก็ขนเข้าไปซิ พวกปลากระป๋อง น้ำพริก ยังกับกลัวว่าจะเกิดสงครามโลกอย่างงั้นแหละ แหม ก็แค่จะเอาไปกินยามคิดถึงเมืองไทยแค่นั้นเอง

มีคนบอกว่าเป็นโรคจิตปลากระป๋อง อ้าว!ก็ปลากระป๋องมันเป็นอาหารที่ทำให้ลิซซี่กิน แล้วลิซซี่มักจะบอกว่า แม่ทำกับข้าวอร่อยที่สุดในโลก เฮ้อ อย่างไรเสียก็คงต้องตัดใจเอามันออกไปแล้วหล่ะ เพราะว่าทริปนี้ ต้องขนหนังสือบริจาคจากอังกฤษ พร้อมเสื้อชุดนักเรียน อภินัันทนาการจาก เพื่อนสาวนามว่าอ้าของเรานั่นเอง แถมของเล่นจากอังกฤษที่รับบริจาคมา รวมเข้าไปก็ 3-4 กระเป๋าใหญ่เป้งๆ แถมหนักอีกต่างหาก

ทริปนี้ถือเป็นการผจญภัยจริงๆ แต่เป็นการผจญภัยไปกับสัมภาระ คือต้องขนสัมภาระทั้งหมดขึ้นเครื่อง รวมถึงข้าวของส่วนตัวด้วย เพราะจะบินกลับกันไปเลย

ปล่อยให้คุณยายร่ำลา หลานรัก ส่วนดิฉันก็นั่งวางแผนการเดินทาง นั่งคิดไปคิดมาสรุปว่าต้องบินไปลงที่่ภูเก็ต จากนั้น.......ต้องหารถเช่าไปบ้านน้ำเค็ม จากนั้่น...... ต้องไปกระบี่ต่อเพื่อเจอกับพ่อลิซซี่ที่จะไปรออยู่ที่อ่าวนางกับฮอลิเดย์ส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วก็จบทริป ปิดครึ่งเทอมของลิซซี่ อือ ฟังดูไม่หนักหนาสาหัสอะไร

แต่ไอ้ช่วงต่อระหว่างจากบ้านน้ำเค็มไปกระบี่เนี่ยสิ จะไปยังงัยดีหล่ะ จะเหมารถอีกรอบก็ไม่รู้จะแพงแค่ไหน จะพาลูกนั่งรถทัวร์ก็ต้อง 2ถึง 3 ต่อแน่ะ

จากบ้านน้ำเค็ม.........ไปตะกั่วป่า จากตะกั่วป่า.............ไปกระบี่ จากกระบี่.................ต้องเลือกเอาสองทางว่าจะต่อเรือ .................หรือต่อรถสองแถวไปอ่าวนาง

โฮ้ย คิดแล้วปวดหัวจัง เอาไว้ก่อนดีว่า เอาแค่ไปให้ถึง บ้านน้ำเค็มก่อนล่ะกัน ทำท่าจะบ่นกับแม่อีกนิดหน่อย แม่บอกว่า หยุดเลยแก จะไปทำบุญห้ามบ่น เีดี๋ยวบุญก็ตกใจวิ่งหายลงบันไดบ้านไปก็เท่านั้น (อันนี้เป็นความเชื่อแต่หนไหนกันล่ะเนี้ย หรือแม่ฉันคิดเอาเอง) แต่สุดท้ายแม่ก็ให้กำลังใจว่า เอาเถอะ แม่อวยพรให้เดินทางโดยปลอดภัยและราบรื่น แม่เชื่อว่าเราตั้งใจไปทำในสิ่งที่ดี รับรองเราคงไม่เจออุปสรรคอะไรมากมายหรอก โอเคเลยจ๊ะแม่ ขอเชื่อด้วยคน



น้ำใจ(ยังอยู่)สู้ภัยสึนามิ...ผจญภัยไปบ้านน้ำเค็ม ภาค2

ในที่สุดเช้าของวันศุกร์ที่14ตุลาคม2548 เราก็อยู่ไม่ห่างจากบ้านน้ำเค็มเท่าไหร่แล้ว แค่ 100 กิโลเมตรเอง แล้วงัยต่อล่ะเนี้ย หันซ้ายหันขวาหารถเช่าก็แทบจะยังไม่มีมาให้เลือกมากมายนัก เพราะยังเช้าอยู่ โชคดีที่พ่อลงมาทำธุระที่พังงาล่วงหน้าก่อนดิฉัน 1 วัน เช้านี้จึงมีหนุ่มใหญ่ใจดีมายืนเป็นเพื่อนพร้อมกระเป๋าใบใหญ่เท่าบ้าน อีก4 ใบ เด็กลูกครึ่ง อายุ 8ขวบ อีก 1 คน คุณตาลิซซี่เข้าไปเจรจาเจ้าแรก คนขับเ่ล่นขอ ตั้งสามพันเจ็ด เจ้าที่สอง หนักเข้าไปอีกบอกสี่พันถามพ่อว่า เขานึกว่าเราเหมาไปอังกฤษหรือป่าว พ่อบอกเงียบๆ อย่าพูดมากเดี๋ยวโดนยิงตาย อ้าว เป็นงั้นไป ว่าแล้วก็หลุดไปหมด รอต่ออีกนิดนึง มีชายหนุ่มเข้ามาสอบถามอีกว่าจะไปรถทัวร์ลงตะกั่วป่าแล้วต่อไปบ้านน้ำเค็มเอามั้ย เขาขายตั๋วอยู่ เราก็อยากนะ ถ้าไม่มีลิซซี่มาด้วย ตอนนี้ลิซซี่เริ่มเฉาแล้ว อีกไม่นานก็จะเหี่ยว ลงไปกองกับพื้่นแหง๋ๆ

พ่อเดินหายไปถามอีก 2-3 คนก็ยังแพงอยู่ งงเจรงๆ เอ๊ะ หรือดิฉันหน้าตาเหมือนปุ๋ย ภรณ์ทิพย์ฺ เลยโก่งราคากันใหญ่เชียว (ล้อเล่นน่ะถึงเราจะไม่สวยเหมือนปุ๋ย แต่เราก็รักเด็กเหมียนกัลล์นะ ฮ้าาาา) ในที่สุัดฟ้าก็ส่งคนดีมาให้พวกเรา พ่อหนุ่ม หน้าตาท่าทางเหมือนพี่แอ๊ด คาราบาวเหลือหลาย เดินคุยมากับพ่อดิฉันประมาณว่าน่าจะตกลงราคากันด้วยดี ไม่มีนองเลือด น้องหน้าโหดแต่ใจดีบอกว่า เค้ามาจากสุราษฎร์ เห็นว่าพวกเราจะไปทำบุญที่บ้านน้ำเค็ม เลยขอเสนอตัวช่วยเหลือน้องเค้าบอกว่า เค้าเคยไปช่วยหาศพผู้ประสบภัยอยู่หลายวันและยังไม่มีโอกาสกลับไปเยี่ยมผู้คนที่นั่นเลยเห็นจะเป็นบุพเพสันนิวาสของพวกเรากับน้องเค้าซะแล้วน้องเค้าบอกว่า ขอค่าน้ำมัน และค่าสึกหรอ รถ แค่2000 บาท โดยจะขับไปให้ถึงโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม แถมจะรอจนเราเสร็จธุระ จะเป็นกี่โมงก็ไม่เกี่ยง แล้วจะขับไปส่งให้ที่กระบี่ถึงโรงแรม อ่าวนาง วิลล่า เลยทีเดียว

โอ้ แม่เจ้าปวารตี ช่างดีเสียนี่กระไร(ช่วยนึกภาพดิฉันยกมือยักคอ แบบหนังอินเดียเพื่อให้ได้อารมณ์ด้วยนะคะ) ทริปนี้ดูง่ายและสั้นลงในพริบตาเดียวหลังจากพ่อหนุ่มใต้ใจดี ปรากฎกายขึ้น ดิฉันนึกขึ้นได้เรื่องแม่อวยพรมาให้ จึงบอกน้องเค้าไปว่า พวกเรามาทำบุญเลยโชคดีได้เจอน้องเค้าซึ่งเป็นคนดีมากๆ เราดีใจที่ได้รู้จักกัน.....................ขอให้ได้บุญร่วมกันนะพ่อหนุ่ม บันทึกหน้ามารู้จักพ่อหนุ่มใจดีคนนี้กัน






คลื่นชีวิต ตอนที่1

ตอนเช้าประมาณเก้าโมงของวันที่14 ตุลาคม 2548 น้องอี๊ดก็ขับรถมาส่งพวกเราอย่างปลอดภัย ณ โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม ระหว่างที่พวกเรานั่งรอคุณครูใหญ่อยู่ในอาคารห้องพักครู ดิฉันฝากลิซซี่ไว้กับคุณพ่อและเดินดูรอบๆ โรงเรียน ดิฉันออกไปยืนอยู่ข้างๆอาคารหลังเก่าที่โดนคลื่นซัดกระแทกจนเหลือให้เห็นแค่ร่องรอยความร้าวราน มองไปรอบๆ บริเวณที่เกิดเหตุ ดิฉันรู้สึกโหวงเหวงในหัวใจอย่างบอกไม่ถููก แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปแล้วเกือบครึ่งปี แต่ทำไมความรู้สึกมันยังเหมือนกับว่า ความเจ็บปวด ความร้าวราน ของผู้คนที่ตกเป็นเหยื่อเจ้าคลื่นร้ายนี้ยังคงอยู่ให้สัมผัสได้ด้วยหัวใจอย่างไม่น่าเชื่อ

เดินเลียบไปข้างตึกด้วยความสลด หดหู่ มองไปเห็นเด็กน้อยตัวจ้อยแต่งชุดนักเรียนนั่งพิงกำแพงอยู่อย่างเดียวดาย ไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรืออย่างไร ความเศร้า ความเหงา วิ่งเข้ามาจับเข้าที่ขั้วหัวใจ ภาวนาว่าขออย่าให้น้องคนนี้เป็นหนึ่งในเด็กกำพร้า ที่ดิฉันมีรายชื่ออยู่เลย เมื่อเดินเข้าไปพูดคุยกับน้อง หนุ่มน้อยบอกว่ามานั่งรอเข้าห้องประชุม น้องไม่ได้เป็นเด็กกำพร้าที่อยู่ในรายชื่อการรับบริจาค แต่น้องเล่าว่าเสียคุณแม่ไปและคุณพ่อติดคุกตลอดชีวิต ดิฉันนั่งลงข้างๆ น้อง เงียบอึ้งไปชั่วขณะหนึ่ง ความคิดว้าวุ่นเกิดขึ้นในใจ “ยังมีเด็กอีกมากมายที่ต้องการความช่วยเหลือ มิใช่เพียงแค่ความเป็นอยู่ จิตใจพวกเขาด้วยต่างหากที่ต้องช่วยกันเยียวยา”

แต่ลำพังพวกเราตัวเล็กๆ ก็คงทำได้แค่แรงและกำลังที่เรามีอยู่กันเพียงเท่านี้ สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ จับไหล่น้องบีบเบาๆ และบอกให้น้องเข้มแข็ง จากนั้นก็จดชื่อน้องไว้เพื่อนำไปขอเบอร์บัญชีธนาคารที่โรงเรียนจัดไว้ให้กับเด็กทุกคนในโรงเรียน ในใจก็คิดว่า เงินจำนวนที่นำมาจากอังกฤษคงต้องถูกหารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน จากนั้นหนุ่มน้อยก็ลุกขึ้นชวนเดินไปดูบ้านพักอาศัยชั่วคราวหลังโรงเรียนที่น้องอยู่ เมื่อเดินมาถึงดิฉันก็ได้เห็นสิ่งที่ตั้งตระหง่านอยู่ข้างหน้านั้น เป็นบ้านพักอาศัยชั่วคราวหลายสิบหลังสำหรับเด็กๆ และผู้ประสบภัยที่ไร้ที่อยู่อาศัย

มองดูเหมือนบ้านในจินตนาการตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยฝันอยากมีบ้านจำลองไว้เป็นของเล่นชิ้นโต แต่ทว่าในตอนนี้บ้านเหล่านี้คงเป็นได้มากกว่าของเล่นชิ้นโต และคงมีคุณค่ามากมายนักสำหรับคนหลายๆ คนที่ต้องอาศัยเป็นที่พักพิงแม้จะเป็นเพียงชั่วคราวก็ตาม ดิฉันเดินเลาะไปตามใต้ถุนบ้าน มีหลังหนึ่งเป็นเหมือนสำนักงานของมูลนิธิฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กจากภัยสึนามิ ซึ่งอยู่ในพระราชินูปถัมภ์ของพระราชินีจากประเทศสวีเดน

ขณะที่ดิฉันยืนอ่านป้ายรายละเอียดของมูลนิธิอยู่นั้น ก็มีเสียงอ่อนหวานไพเราะกล่าวสวัสดีอยู่ข้างหลังและถามไถ่ว่ามีอะไรให้ช่วยไหม ดิฉันหันไปเห็นสาวน้อยชาวฝรั่งสามคนส่งยิ้มให้จากแคร่ใต้ถุนบ้านพัก ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับบ้านหลังที่ดิฉันยืนอยู่ ดิฉันรีบกล่าวทักทายตอบ ทั้งสามเชิญดิฉันนั่งลงร่วมวงสนทนา สอบถามเธอทั้งสามได้ความว่า ทั้งสามเป็นพี่น้องกัน อายุอยู่ในวัย 14-18 ปี เป็นชาวอเมริกัน จากนิวยอร์ค เดินทางมากับคุณพ่อ มิสเตอร์เดวิด จอห์นสัน และคุณแม่ มิสซิสทาเบีย จอห์นสัน เมื่อต้นปีหลังเกิดสึนามิได้ไม่นานนัก

ทั้งครอบครัวเป็นอาสาสมัครมาช่วยสอนภาษาอังกฤษเด็กๆ ที่โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม และช่วยดูแลเรื่องฟื้นฟูจิตใจเด็กๆ กำพร้าที่นี่ด้วย หลังจากนั้นน้องๆฝรั่งทั้งสามคนก็ชวนดิฉันไปพบคุณพ่อคุณแม่ของพวกเธอ ดิฉันเดินแวะมารับลิซซี่ และคุณพ่อไปห้องประชุมด้วยกัน ส่วนน้องอี๊ดนั้นช่วยหอบข้าวของที่นำมาบริจาคไปไว้ที่ห้องประชุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคุณพ่อดิฉันก็ได้ให้เงินน้องไปทานข้าวเช้าก่อน เนื่องจากพวกเราคงต้องใช้เวลาพอสมควร ดิฉันได้พบกับมิสเตอร์เดวิดและภรรยา คุณพ่อคุณแม่ของสาวน้อยสามใบเถาชาวอเมริกันพร้อมกับคุณครูใหญ่ อาจารย์ ทวิช จิตรสาน พวกเราได้พูดคุยกันอยู่พอสมควร

ดิฉันได้ทราบว่าหลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ คุณครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนทุกคนนั้นก็ต้องทำงานหนักกันมากขึ้นหลายเท่า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาบริจาค และหรือ ต้องคอยจัดสรร ความจำเป็นต่างๆ ให้กับนักเรียนรวมไปถึงผู้ปกครองที่ประสบภัยหลายๆ คนในท้องที่ เพื่อให้เกิดความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งดิฉันเองก็พอจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากเอาการอยู่ ปัญหาที่เกิดในการทำงานนั้นย่อมมีอยู่อย่างแน่นอน ต่างคนก็ต่างความคิด หากจะต้องมานั่งบรรยายหรือวิเคราะห์เรื่องราวเหล่านี้ ดิฉันว่าก็คงจะได้นิยายน้ำเน่าที่เราๆ ก็คงรู้ๆ กันอยู่กับระบบราชการหรือการทำงานของรัฐบาลไทยขึ้นมาอีกเล่มอย่างแน่นอน

เอาเป็นว่า ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีความตั้งใจ และความจริงใจที่จะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่แล้วกันค่ะ



คลื่นชีวิต ตอนที่ 2

ณ ห้องประชุมอาคารที่สร้างใหม่

นักเรียนเดินเรียงแถวกันอย่างน่ารักน่าเอ็นดููผ่านหน้าดิฉัน เข้าไปนั่งกับพื้น หนููน้อยที่นั่งลงแล้วหลายคนแอบชำเลืองมองลิซซี่ แล้วเขินอายเล็กน้อย จนดิฉันต้องบอกให้ลิซซี่ส่งยิ้มให้น้องๆ เพื่อนๆ

ทุกแววตาของเด็กน้อยเหล่านั้นช่างแสนบริสุทธิ์ หลายคนมีแววเศร้าฉายออกมา เพราะพวกเขาต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าจากภัยสึนามิ ดิฉันเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า การจัดพิธีการรับมอบเงินนี้ จะเป็นการไปตอกย้ำเด็กๆ และกระตุ้นเตือนความเจ็บปวดให้พวกเขาหรือเปล่า ด้วยความตั้งใจครั้งแรกที่จะมาบ้านน้ำเค็ม ก็เพียงเพื่อจะพบคุณครููใหญ่และนำมอบเงินให้ท่าน ผ่านทางบัญชีธนาคารของเด็กๆ เท่านั้น ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีพิธีรีตองมากมายขนาดนี้ เดวิด จอห์นสัน พร้อมลููกๆ ทั้งสามคนยืนอยู่ข้างดิฉัน ดููเหมือนพวกเขาจะรู้ว่า ดิฉันครุ่นคิดเรื่องบางเรื่องอยู่ เมื่อเดวิดถามดิฉันว่า ดิฉันโอเคหรือเปล่า ดิฉันก็เลยบอกถึงความรู้สึกกังวลว่าการทำพิธีการแบบนี้จะเป็นการดีหรือไม่ เพราะเป็นห่วงจิตใจเด็กๆ แต่เดวิดบอกว่า ทางโรงเรียนก็จัดต้อนรับหลายๆ หน่วยงานมาตลอด เท่าที่เขาสังเกต พบว่าเด็กๆ ก็รู้สึกอบอุ่นที่มีคนมาหา มาเยี่ยม และบอกให้ดิฉันอย่าคิดมากไป

ก่อนเริ่มพิธีการรับมอบเงินบริจาคและสิ่งของจากโรงเรียนMilverton ประเทศอังกฤษ คุณครูก็ได้ให้โอวาทเด็กๆ และแจ้งเรื่องการมาบริจาคของพวกเรา ดิฉันส่งลิซซี่เป็นตัวแทนมอบเงินให้กับนักเรียนกำพร้าพร้อมด้วยหนังสือและ สิ่งของต่างๆ ให้กับทางโรงเรียน

ระหว่างพิธีการนั้น ตัวดิฉันยืนอยู่ข้างๆ ห้องประชุมกับมิสเตอร์เดวิด เราสองคนพูดคุยกันเบาๆ เรื่องความด้อยโอกาสของเด็กๆที่นี่ มิสเตอร์เดวิดบอกว่าดีใจมากที่ โรงเรียนMilverton ส่งหนังสือดีๆ มาให้มากมายนัก และมันก็ทำให้ดิฉันรู้สึกดีมากๆ ว่า หนังสือเหล่านั้นจะเพิ่มคุณค่าในตัวมันเองมากขึ้นเป็นหลายเท่านัก เพราะครอบครัวจอห์นสันจะได้ใช้หนังสือเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์กับเด็กๆ อย่างสูงสุด

ขอแสดงความนับถือน้ำใจของครอบครัวนี้มากมายนักที่เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ มาสอนภาษาอังกฤษและให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ในด้านการฟื้นฟูจิตใจด้วย

เมื่อเสร็จพิธี คุณครูเชิญพวกเราร่วมรับประทานอาหารกับเด็กๆ ที่โรงอาหาร ซึ่งวันนี้มีเมนูพิเศษที่เด็กๆ อยากทานและทางโรงเรียนไม่สามารถจัดหาให้เด็กๆได้เนื่องจากงบประมาณอาหารกลางวันไม่เพียงพอ

อยากทราบไหมคะว่าเมนูนั้นคืออะไร…….ขนมจีน แกงไก่ น้ำพริก น้ำยากระทิ และน้ำยาป่า พร้อมกับผักกระจาดใหญ่ค่ะ คุณครูฝ่ายโภชนาการถือโอกาส แถมผัดกระเพราและไข่เจียวให้เด็กๆ ด้วย ดิฉันรับจานอาหารที่คุณครูผู้มีน้ำใจส่งให้แล้วมองดูอยู่พักนึง นั่งคิดถึงคำพูดคุณครูว่า อาหารเหล่านี้เป็นอาหารแสนพิเศษที่เด็กๆ ดีใจว่าจะได้ทาน นานๆ ครั้ง นี่มันอะไรกัน เด็กบางคนแทบจะไม่แตะอาหารเหล่านี้เลย เพราะเห็นเป็นของธรรมดาสำหรับพวกเขา ยิ่งเด็กกรุงเทพฯ ที่คุณพ่อคุณแม่มีสตางค์หน่อย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง อาหารพิเศษของพวกเขา นู้นเลยค่ะ อยู่ตามฟาสต์ฟู้ดชื่อดังมากมาย บางคนทานทิ้งทานขว้าง พวกเขาจะนึกบ้างหรือเปล่าว่ามีเด็กอีกหลายคน ไม่มีโอกาสแม้แต่จะลิ้มรสอาหารที่พวกเข้าทานเหลือ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งของความด้อยโอกาสในสังคมไทย

ดิฉันได้แต่หวังว่าลิซซี่คงเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น หลังจากที่ดิฉันอธิบายความแตกต่างของโอกาสทางสังคมให้ลูกฟัง โดยยกตัวอย่างแค่เรื่องอาหาร การกินนี่แหละค่ะ ง่ายดี จนลิซซี่บอกว่าอยากให้พวกเขาได้ทานไอศครีมอร่อยๆ หรือพิซซ่าดีๆ บ้างจัง เมื่อทานอาหารเสร็จดิฉันก็เตรียมร่ำลา และกล่าวขอบคุณ คุณครูทุกๆ ท่านที่อำนวยความสะดวกให้พวกเราเป็นอย่างดี

และเมื่อเดินออกมาจะขึ้นรถ มีคุณแม่สองสามคนอุ้มลูกเล็กเดินเข้ามาหาดิฉัน แล้วบอกว่าขอทุนการศึกษาให้ลูกตนเองบ้าง ดิฉันหยุดคุยด้วยพักนึง ทุกคนนั่งปรับทุกข์กับดิฉันต่างๆ นานา สิ่งที่รับรู้ในเวลานั้น นั่นก็คือชีวิตที่แร้นแค้น ตั้งแต่ครั้งยังไม่เกิดภัยพิบัติ แม่บางคนบอกว่าก่อนเกิดภัยพิบัติ ลูกๆ ตนเองที่อยู่โรงเรียนนี้ก็แทบจะไม่เคยได้ทานอาหารเช้าออกจากบ้านกันเลย มาขออาศัยอาหารเที่ยงทางโรงเรียนซึ่งก็มีงบประมาณไม่ได้เยอะอะไร พอได้กินอยู่รอดไปวันๆ ถ้าจะพูดถึงความยากจนก็คงบอกได้ว่าไม่ใช่แค่เฉพาะที่นี่เท่านั้น อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่าความแตกต่างระหว่างความรวยความจนในประเทศเรานั้นมีอยู่มากมายนัก

แต่ถ้าพวกเราหลับตานึกภาพผู้คนยากจน ชาวบ้านธรรมดาที่ต้องปากกัดตีนถีบอยู่แล้ว และต้องมาเจอโชคชะตาเคราะห์กรรมที่หนักหนาสาหัสอย่างภัยสึนามิ สูญเสียคนที่รักคนที่เป็นเสาหลักของบ้าน หรือแม้แต่เด็กกำพร้าทั้งหลายซึ่งยังไม่รู้ว่าอนาคตพวกเขาจะเป็นอย่างไร ถ้าหากพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม พวกเขาจะเป็นอย่างไรกัน................................. ดิฉันเดินจากมาด้วยน้ำตาที่ไหลอยู่ในอก มันล้นอยู่ในใจ และบังคับไม่ให้มันไหลออกมาผ่านม่านตาตัวเอง เมื่อต้องเดินผ่านโรงอาหารที่มีเด็กๆ ทั้งหลายโบกมือ บ้าย บาย ลิซซี่ และหลายคนยกมือไหว้ร่ำลาดิฉัน

พวกเราส่งยิ้มและโบกมือตอบไปยังเด็กๆ ดิฉันนั่งมองจากหน้าต่างรถไปยังเด็กน้อยทั้งหลายซึ่งนั่งรับประทานอาหารพิเศษของพวกเขาอยู่อย่างมีความสุข อย่างน้อยก็อีกหนึ่งมื้อจากการมาเยี่ยมของแขกแปลกหน้า น้องอี๊ดขับรถออกมาเกือบพ้นประตูโรงเรียน จนดิฉันต้องเหลียวหลังเพื่อเก็บภาพเด็กๆในโรงอาหารไว้เป็นภาพสุดท้าย เมื่อหันกลับมา มองไปหน้าถนน ภาพนั้นพร่าเลือนด้วยหยดน้ำตา คุณพ่อและน้องอี๊ดสบตาดิฉันในกระจกด้านหน้ารถ ทุกคนดูเหมือนจะเข้าใจความรู้สึกของกันและกันได้จากความเงียบภายในรถ และเก็บมันไว้เป็นความสงบแห่งการเดินทางในเส้นทางใหม่.....หลังการจากลา


"ขอความเมตตาปราณีต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสกว่าเรา จงมีอยู่ในน้ำใจมนุษย์โลกทุกคนตลอดกาล""ไม่ว่าคุณจะท้อแท้ สิ้นหวัง ในเรื่องใด ขอกำลังใจจงอยู่คู่ทุกคนตลอดไปนะคะ"

Saturday, May 06, 2006

ภาพ"การไปเยือน เพื่อนๆ ตัวน้อย"












เด็กน้อย เดินแถวเข้าห้องประชุม




ลิซซี่จัดหนังสือและสิ่งของที่นำมาจากโรงเรียน ที่อังกฤษเพื่อมอบให้กับโรงเรียนบ้านน้ำเค็มและเด็กกำพร้าสึนามิ

หนังสือที่นำมาบริจาค






ลิซซี่เป็นตัวแทนมอบทุนให้ตัวแทนเด็กกำพร้าสึนามิที่บ้านน้ำเค็ม

พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆ หลายๆ คน บางคนสููญเสียสามี บางคนสููญเสียภรรยา บางคนสููญเสียลููก

ซ้ายมือคือรถน้องอี๊ด ชายหนุ่มน้ำใจงามที่พาพวกเราไปพบกับภาพชีวิตเหล่านี้ ด้วยราคามิตรภาพ


ตึกเก่าที่โดนทำร้ายโดยภัยสึนามิ ทิ้งรอยความร้าวรานไว้ให้เห็น

เริ่มช่วยกันก่อร่าง หวังจะสร้างขึ้นมาใหม่

และพยายามสร้างขึ้นมาใหม่

ตึกใหม่ กับชีวิตใหม่ จริงหรือ

ประตููทางออกโรงเรียน เส้นทางการจากลา